หลังจากรับประทานอาหารกลางวันอิ่มหมีพลีมันกันถ้วนหน้าแล้ว พวกเราก็เดินย้อนกลับข้ามถนนไปเดินผ่านด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อไปยัง Ste. Genevieve Catholic Church ที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงข้ามอีกฟากถนน ที่แห่งนี้เป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิคแห่งแรกของชาวยุโรปที่สร้างขึ้น ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ Mississippi อายุกว่าสองร้อยปี......ในปี 1794 สร้างด้วยไม้ (Log Church ที่รื้อถอนมาจาก Big Field) ต่อมาช่วงปี 1831-1835 สร้างเป็น Stone Church และในปี 1876 มีการสร้างใหม่ด้วยอิฐ (Brick Church) โดยสร้างครอบ Stone Church เดิม และยังได้เพิ่มส่วนยอดที่โดดเด่นสวยงาม ระหว่างที่มีการก่อสร้างของใหม่ครอบของเก่านั้นประชาชนยังสามารถเข้าไปทำพิธีการทางศาสนาได้ตลอดเวลา..... เมื่อ Brick Church สร้างแล้วเสร็จก็มีการรื้อถอนของเก่าโดยขนย้ายออกทางประตู คงไว้เฉพาะฐานล่าง และเสาหิน (Stone Pillars) เพื่อที่ช่วยค้ำยันให้มั่นคงแข็งแรง
ภายใน วิหารแห่งนี้ จัดที่นั่งเป็นสามส่วน (ปีกซ้าย กลาง และ ปีกขวา) ด้านหน้าของแต่ละปีกจะมีสุ้มโค้งปลายแหลมขนาดเล็ก ซ้าย-ขวา ตรงกลางเป็นสุ้มโค้งปลายแหลมขนาดใหญ่ ใต้สุ้มมีรูปปั้นพระเยซูตรึงไม้กางเขนเหนือแท่นบูชาหินอ่อนที่สวยงาม รอบผนังเป็นหน้าต่างกระจกสีแสดงให้เห็นสิบสองอัครสาวก
รูปปั้นที่ทาสีในวิหารเป็นตัวแทนคริสต์เซนต์ปอล, สิบสองอัครสาวกและนักบุญเกรกอรี่แอมโบรส, ออกัสตินและเจอโรมพ่อของคริสตจักรในช่วงต้น รูปปั้นของนักบุญหลุยส์และเซนต์โจนออฟอาร์
อยู่ด้านข้างฉากประดับที่บูชาหินอ่อนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
หน้าต่างในปีกด้านทิศเหนือแสดงภาพเซนต์หลุยส์และเซนต์วินเซนต์เดอพอล นักบุญอุปถัมภ์ของอัครสังฆมณฑลแห่งเซนต์หลุยส์ ปีกด้านทิศใต้เป็นภาพคริสโคลัมบัสและเซนต์เจนเนวีฟ
ผนังด้านหลังของวิหารเป็นรูปหกเหลี่ยม ปีกสองข้างหรือมุขตามขวางของวิหาร มีศาลเพียงตาของ
เซนต์เจนเนวีฟ และ เซนต์โจเซฟ มุขหินอ่อนและรั้วหินอ่อน
แท่นบูชาหินอ่อนเท็กซัสสีขาวห้าแท่นข้างใต้แท่นบูชาทั้งห้า เป็นที่ฝังศพของ ฟรองซัว
คอร์เซ็ท ผู้ซึ่งเป็นต้นเสียงเก่าแก่ของคริสตจักรที่เสียชีวิตใน 1798; ฟรองซัว แวล์ว, ผู้บัญชาการของ
เซนต์เจนเนวีฟ1976-1704 ฝังอยู่กับภรรยาของเขามารี คาร์เพนเทียร์ แวล์ว; ฟาร์เธอร์ฌาคส์แมกซ์เวล บาทหลวงของ เซนต์เจนเนวีฟ 1797-1814; และฟาร์เธอร์แพรทท์ อองรี ชนชาวพื้นเมืองของ เซนต์เจนเนวีฟ ที่เกิดในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิป
และบวชเป็นพระคาทอลิกคนแรก และได้เป็นบาทหลวงจากปี 1816-1822
มุขปีกขวา |
หน้าต่างกระจกสี |
ซุ้มประตูด้านหลัง (ทางเข้า) |
ภาพนี้ได้จากเว็บไซต์ของรัฐ...เลยไม่แน่ในว่าจะเป็น Virgin Mary ที่กำลังมองดูการปรากฏตัวของเทวทูตกาเบรียล หรือเปล่า |
คริสตจักรนี้มีขนาด ยาว 175 ฟุต กว้าง 70 ฟุต และภายในสูง 55 ฟุต หอระฆังและยอดสูงจากระดับถนน
190 ฟุต และสามารถมองเห็นได้ในระยะหนึ่งไมล์โดยรอบ บนหอมีระฆังสี่ใบ ใบใหญ่ที่สุดชื่อ
'แมรี่’ ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่แมรี่ผู้ไม่มีที่ติ ใบใหญ่ที่สุดใบที่สอง ชื่อ 'เจนเนวีฟ’ ตั้งเพื่อเป็นเกียรตินักบุญอุปถัมภ์ และใบที่สามที่ใหญ่ที่สุดชื่อ
'ฟรานซิส’ ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ฟาเธอร์ไวส์ ทั้งสามใบผลิตโดย
บริษัท Stuckstede ในเซนต์หลุยส์ในปี 1906 ระฆังเล็กที่สุดคือ 'โจเซฟ' เป็น ‘ระฆังตาย’ ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่เซนต์โจเซฟ
ผู้มีพระคุณของ ‘A Happy Death’ คือเมื่อมีคนที่อยู่ในละแวกตาย ระฆัง
'โจเซฟ' นี้ก็จะถูกตีให้ดังขึ้นเตือนผู้คน เมื่อคนได้ยินจะหยุดและอธิษฐานให้แก่วิญญาณที่ล่วงลับ ระฆัง 'โจเซฟ' ผลิตในพิตส์เบิร์ก ปี 1847 โดย บริษัท เอฟุลตัน
ถ่ายจากถนน Market St |
มัมถือโอกาสลงนามในสมุดเข้าเยี่ยมชมที่จัดไว้ด้านหลัง แล้วนั่งพักกับแด๊ดตรงที่นั่งส่วนกลางด้านหน้า
พวกเราชื่นชมความงามของสถาปัตยกรรมในศตวรรษที่ 18 ที่หาดูได้ไม่มากในสหรัฐอเมริกา
เคยคิดว่าอยากไปเที่ยวยุโรปเพื่อชมสถาปัตยกรรมยุคเก่าที่สวยงามวิจิตรพิสดาร แต่ยังไม่มีโอกาส....นาทีนี้ชมที่นี่ไปก่อนก็แล้วกัน...ที่จริงอยากใช้เวลาถ่ายภาพที่นี่ให้มากกว่านี้แต่ถูกจำกัดด้วยเพราะไปกันเป็นคณะ
ใช้เวลาเยอะไม่ได้....ถ้าคุณมีโอกาสไปเยือนรัฐมิสซูรี่ โปรดอย่าพลาดชมที่นี่ และมีอีกที่
คือที่ St. Louis (เราเห็นแต่ภายนอก
ยังไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชมภายใน)
หลังจากใช้บริการห้องน้ำ (ที่จัดไว้ให้ภายใน) กันเรียบร้อยพวกเราก็กลับออกมา....ช่วงนี้ยังไม่มีนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นเข้ามาเลย...... แมรี่เริ่มกางแผนที่เพื่อที่จะไปเที่ยวชม เฟร้นช์โคโลเนี่ยลเฮ้าส์ (French Colonial Houses) ที่เป็น Highlight สำหรับวันนี้.....(ก่อนจบตอนนี้ มีภาพแถมท้ายสองภาพ)
ถ่ายระหว่างรถกำลังแล่น |
เห็นดอกไม้ที่ไหนเป็นต้องโผไปที่นั่น....จริงตั้งใจจะถ่ายอาคารฝั่งโน้นแต่สะดุดดอกไม้นี่ซะก่อน |
คลิกอ่านตอนสุดท้าย Part 3 ที่นี่
Part 3 French Colonial Houses
คลิกอ่าน Part 1 ที่นี่
Part 1 Visited the Ste. Genevieve Museum
Thanks for visit!
Part 3 French Colonial Houses
คลิกอ่าน Part 1 ที่นี่
Part 1 Visited the Ste. Genevieve Museum
Thanks for visit!
0 ความคิดเห็น :
Post a Comment